การศึกษาไทย คือ การลงทุนที่ ทุนหายกำไรหด

(ชอบบทความนี้มากครับ)
.
.
เหตุการณ์เมื่อ 2 เดือนก่อน
“เธอคิดว่า ฉันควรเอาทองไปจำนำหรือขายดี ลูกคนโตรองเท้าขาดแล้ว คนที่สองตัวโตขึ้นต้องซื้อเสื้อใหม่ กระโปรงใหม่ ไหนต้องปักชื่อ ปักดาว คนที่สามค่อยยังชั่วหน่อยใช่ของพี่ แต่ก็สงสาร ว่าจะซื้อกระเป๋าใบใหม่ คนเล็กกำลังจะเข้าอนุบาล 1 ซื้อใหม่หมด….ยังไม่รู้เลยว่าถ้าขายหรือจำนำจะพอหรือเปล่า”
เหตุการณ์เมื่อปีที่แล้ว
“พี่ลูกหนูไม่อยากเรียนโรงเรียนรัฐ เขาอยากโรงเรียนเอกชน ไปดูโรงเรียนแล้ว บรรยากาสดี ครูก็ดูโอเคดี แต่ค่าเทอมแพงมาก”
ฉันไม่มีคำแนะนำให้เพื่อน และรุ่นน้อง ผู้กำลังทุกข์กับระบบการศึกษาไทย แม้จะเข้าใจความรู้สึกเช่นนี้เพราะเคยทุกข์กับเรื่องนี้มาก่อนก็ตาม
เราอยู่ในประเทศที่ทุกอย่าง คือ ธุรกิจ (ที่ขาดจริยธรรม) แม้กระทั้งเรื่องการศึกษา
.
.
เฉพาะในกรุงเทพฯและเฉพาะปีนี้ โรงจำนำได้เตรียมเม็ดเงินเพื่อรองรับและให้ความช่วยเหลือพ่อแม่ที่เดือดร้อนในช่วงเปิดเทอมที่ผ่านมา จำนวนมากถึง 2,000 ล้านบาท (*_*)
2,000 ล้านบาท เฉพาะในกรุงเทพ ยังไม่รวมอีก 75 จังหวัดที่เหลือ
.
.
เราอยู่ในประเทศที่ต้องลงทุนกับเรื่องที่ไร้สาระในเรื่องการศึกษา อย่างไม่น่าเชื่อ….
ประเทศที่
นักเรียนต้องใช้กระเป๋าที่มีโลโก้โรงเรียนเท่านั้น ใช้กระเป๋าแบดแมนผิดกฏ
เสื้อ ทุกตัวต้องปักชื่อ ปักดาว
กระโปรง กางเกง ต้องซื้อที่โรงเรียนสั่งเท่านั้น เพราะเดี๋ยวสีจะไม่เหมือนกัน
นักเรียนต้องใช้สมุดที่มีตราโรงเรียน หน้าปกมิกกี้เม้าส์ผิดกฎ
ถ้าอยากเรียนคณิตศาสตร์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้นักเรียนต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มกับครูคนเดียวกันที่สอนในโรงเรียน
พ่อแม่ต้องเสียค่าเทอมที่แพงลิ่ว ชนิดที่พูดได้ว่าทุกบาททุกสตางค์ที่หามาได้เพื่อค่าเทอมลูก แต่ไม่สามารถการันตีว่าลูกจะมีความสุข และครูจะไม่ใช้ความรุนแรง
โรงเรียนต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อกิจกรรมเดินพาเหรด เต้นบนเวที เสียเงินกับการเเต่งองค์ทรงเครื่อง เสียเงินไปกับการจัดกิจกรรมที่หาตัวตนที่แท้จริงของเด็กแทบไม่ได้เลย
.
.
ทำไมเราจึงต้องเสียเงินทองมากมายกับเรื่องไร้สาระเหล่านี้?
คำตอบเดียว
“เพราะมันคือธุรกิจ”
.
.
ด้วยความเข้าใจส่วนตัว ฉันคิดว่า “การศึกษา” ในความหมายอย่างง่ายๆ หมายถึง
“การสร้างเด็กให้มีความรู้ มีความสามารถ มีทักษะชีวิตที่ดีในทุกด้านที่จำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีสันติและมีความสุข”
การสร้างเด็กคนหนึ่งให้มีความรู้ มีทักษะที่ดีหาใช่ต้องใช้สิ่งอื่นใดนอกเสียจาก
หนังสือดีๆสัก 100 เล่ม สมุดหน้าปกสวยๆสัก 1,000 เล่ม
ดินสอ ยางลบ สีน้ำ สีไม้ กระดาษเปล่า สำหรับจินตนาการ
ห้องเรียน แปลงเกษตร สนามหญ้า กว้างๆ สำหรับวิ่งเล่น
และครูดีๆ ที่มีความรู้และรักที่จะเป็นครูอย่างแท้จริงสัก 1 คน
เท่านี้ก็เพียงพอแล้วกับสิ่งที่เราเรียกว่า
“การศึกษา”
อารียา ดือเระ
6/10/63

โฮมสคูลนราธิวาส

ที่มา : 
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3201575076620780

 

[seed_social]
  • Korn akkawitthachai
    24 พ.ย. 2020 เวลา 00:45

    รอรัฐเปลี่ยน รอปฏิรูปไม่ได้ครับ วงการศึกษาไทย มีผลประโยชน์แอบแฝงมากมาย ถามว่า รัฐ คนในกระทรวง หรือแม้กระทั่งบรรดาครูในรร. เขาสนมั้ยว่า เด็กจะมีคุณภาพหรือไม่ เขาไม่สนครับ

    ตอนนี้ การศึกษาตามโลกภายนอกไม่ทันแล้ว

Add a comment

CHANGE LANGUAGE

เลือกแสดงตามหมวดหมู่

โหลดหน้าใหม่
คัดลอกลิงก์

แชร์หน้านี้