ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้ ในสิ่งที่เราไม่ได้อยากรู้ ? แล้วเป็น ในสิ่งที่เราไม่ได้อยากเป็น ?

โลกแห่งการเรียนรู้ นอกห้องเรียน Academylink.co เป็นพื้นที่สื่อกลาง รวบรวมข้อมูลการเรียนรู้ แชร์บทความดีๆ จากหลากหลายสื่อ สำหรับการสร้างลูก
Please enter a valid URL


ทำไมเราต้องทนเรียน ในด้านที่เราไม่ได้อยากเรียน เพื่อเอาไปทำงาน ที่ไม่ได้อยากทำ 
แล้วมีชีวิต..ในแบบที่เราไม่ได้อยากเป็น…ใครออกแบบกฎนี้ไว้  ?

“….ตอน ม.3 ในวันที่ยืนอยู่บนสะพานลอยหน้า ม.ราม

ผมยืนมองผู้คน มองรถวิ่งไปมา แล้วคิดในใจว่า

คนทั้งโลกเขาทำแบบเดียวกันหมดเลย คือเกิดมา ..เข้าเรียน (เรียนในสิ่งที่ บางทีก็ไม่ได้ใช้)..

จบแล้วก็ทำงาน ที่ไม่ได้อยากทำ ทำไปจนแก่..แล้วที่สุดก็ตายไป

ผมนึกถึงอาเจ็กผมคนนึง เป็นน้องชายป๊า เปิดร้านขายของตั้งแต่หนุ่มๆ ร่ำรวยมาก เขาทำแบบนี้ทุกวันตั้งแต่หนุ่มจนแก่ เหล้าไม่กินบุหรี่ไม่สูบ แล้ววันนึงเขาก็เป็นมะเร็งตายไป ผมเคยคิดถึงเขา แล้วถามเขาในใจว่า เจ็กเคยถามตัวเองมั้ยว่า เกิดมาทำไม เพื่อเฝ้าหน้าร้านขายของทั้งชีวิตแล้วก็ตายไป แค่นั้นเองเหรอ

พอผมคิดถึงอาเจ็กผม บวกกับความคิดส่วนตัวเรื่องการเรียนในห้องเรียน ผมตัดสินใจในตอนนั้นทันทีว่า ผมจะเลือกทางเดินชีวิตแบบที่ตัวเองต้องการ คนทั้งโลกจะเป็นยังงัย เว้นผมไว้ซักคนละกัน 555

ผมไม่ได้หมายความว่าคนเราไม่ควรเรียนนะ แต่ผมศรัทธาการเรียน ในสิ่งที่เราเลือกจะเรียนมากกว่าก็แค่นั้น…” ที่มาข้อความ

การเรียนรู้ในสิ่งที่เราอยากรู้ ผลมันต่างลิบลับกับการถูกบังคับให้เรียน…

คนที่ได้ค้นพบตัวเอง ได้ทำงานที่ตัวเองรัก จะไม่รู้สึกว่ามันคืองานเลย…เขาจะสนุกและมีความสุขกับมันตลอดเวลา.

บทความบางส่วนจาก https://smartjob.doe.go.th/INF/Post/detail/27O627OA27O527O627O82101

“โตขึ้นอยากเป็นอะไร”…แล้วต้องเรียนอะไร? ทำงานแบบไหน? ใช้ Passion ในตัวเองหาคำตอบคือทางออกที่ดีที่สุดใช่หรือไม่!!!


ปัจจุบันการศึกษาภาคบังคับของไทยยังคงเป็นระบบแพ้คัดออก ตีกรอบความคิด สร้างค่านิยมชื่นชมคนเก่ง เน้นผลลัพธ์ด้วยอันดับตัวเลข ส่งผลให้การเรียนรู้ที่เน้น “กระบวนการ” และ “ระบบความคิด” เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ถูกลดทอนความสำคัญลงไป และกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนมากในปัจจุบันยังไม่รู้ และไม่มีคำตอบเมื่อถูกตั้งคำถามว่า อยากเรียนอะไร? อยากมีอาชีพลักษณะไหน? หรืออยากทำงานอะไร?


จริงๆ แล้ว มีพลังขับเคลื่อนชีวิตและความคิดที่นำพามนุษย์ให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมีจุดมุ่งหมาย นั่นคือ passion ซึ่งหมายถึงแรงผลักดัน หรือความชอบในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลุ่มหลง เมื่อได้ลงมือทำตาม passion จะสร้างความสุขให้ชีวิต ช่วยให้ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความล้มเหลว แน่นอนว่าเราสามารถใช้ passion เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบให้ตัวเองในการวางแผนการเรียนและกำหนดเส้นทางชีวิตการทำงานของเราในอนาคต


มุมมองที่น่าสนใจจาก ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ หรือ “หมอวิน” เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ บอกว่า passion เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำเราให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายของชีวิต เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น แรงผลักดันนี้ทำให้เราลงมือทำในสิ่งที่ชอบซ้ำๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นทักษะที่โดดเด่น สามารถเป็นอาชีพทำรายได้ การออกแบบชีวิตไปตามแรงผลักนี้ต้องขึ้นอยู่กับโอกาส การสนับสนุนจากครอบครัว และระบบการศึกษาที่รองรับ ซึ่งควรเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างวิธีคิด ขั้นตอนกระบวนการ เพื่อไปถึงผลลัพธ์


ลองตั้งคำถาม “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” กับเด็กเล็กๆ เราจะพบคำตอบแทบจะทันที แต่คำถามเดียวกันนี้เรากลับพบความนิ่งเงียบ หรืออาจได้คำตอบไม่ชัดเจนเมื่อถามนักเรียนมัธยม หรือนักศึกษามหาวิทยาลัย เช่นนี้อาจกล่าวได้หรือไม่ว่า นอกจากครอบครัวแล้ว ระบบการศึกษาในช่วงชีวิตที่เด็กเรียนรู้และเติบโตขึ้นมา เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ passion ค่อยๆ เลือนหายไปและยังลดทอนความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของพวกเขา

บทความบางส่วนจาก https://smartjob.doe.go.th/INF/Post/detail/27O627OA27O527O627O82101

…………………………..
ขอบคุณคลิปดีๆจาก..คุณ Pnida Ratarasan
Production by Pnida Ratarasan
Music Tanid Sintaratana
DEC Graduate 2016
Visual Communication Decorative Arts Silpakorn University Thailand
Award
– THE BEST OF THESIS 2016/ DECORATIVE ARTS/ SILPAKORN UNIVERSITY
– Complimentary Award/ THE 20th SHOT FILM AND VEDIO FESTIVAL 2016
– Distinguished Prize/ Young Thai Artist Award 2016
– The Best of Categories/ Degree Shows 2016
– Moving Image Excellence Award/ ASIA DIGITAL ARTIST FUKUOKA 2016
– Thailand Animator Festival 4
………….
www.Academylink.co
โลกแห่งการเรียนรู้ นอกห้องเรียน
แนะนำสถาบันการเรียนรู้ อะคาเดมี่ จากทั่วประเทศไทย และในออนไลน์
ดนตรี กีฬา ศิลปะ เขียนโปรแกรม แอพ กราฟิก คอร์สทักษะชีวิต พัฒนาการเด็ก

 
[seed_social]
  • Add a comment

    CHANGE LANGUAGE

    เลือกแสดงตามหมวดหมู่

    โหลดหน้าใหม่
    คัดลอกลิงก์

    แชร์หน้านี้